-
Details
-
Category: อุทยานแห่งชาติออบหลวง
สถานที่กางเต็นท์ในภาคเหนือนอกจากสถานที่ดังๆ อย่างดอยอินทนนท์แล้ว ออบหลวงก็เป็นสถานที่ที่น่าสนใจ หากมีเวลาหลายวัน คืนแรกอาจจะกางเต็นท์ที่ดอยอินทนนท์ อีกวันที่มาที่ออบหลวงก่อนจะไป ที่แม่เมย อีกหนึ่งคืน แล้วก็วนกลับกรุงเทพผ่านทางแม่สอด
กิจกรรมของที่นี่จะเหมาะสำหรับผู้ที่ชอบเดินป่า สำรวจธรรมชาติ
ข้อมูลเพิ่มเติมจากกรมอุทยานแห่งชาติ
อุทยาน แห่งชาติออบหลวง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ด้วยระบบนิเวศทุกประการ ทั้งมีความสวยงาม และ ความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ มีคุณค่าทางโบราณคดีทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ทั้งทาง ธรณีวิทยาและคุณค่าทางสถาปัตยกรรมทางธรรมชาติ เหมาะแก่การศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ และเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวที่มีคุณค่าและความสวยงามอย่างยิ่ง มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 345,625 ไร่ หรือ 553 ตารางกิโลเมตร
ความเป็นมา ในปี พ.ศ. 2508 กรมป่าไม้เห็นว่าบริเวณริมถนนในท้องที่ตำบลหางดง อำเภอฮอดและตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่ร่มรื่น สภาพภูมิประเทศสวยงามแปลกตา มีความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ ประกอบด้วยโขดผา แมกไม้และลำน้ำที่ไหลแรงผ่านหลืบเขา ที่ชาวเมืองเหนือเรียกว่า “ออบหลวง” เป็นที่ซึ่งประชาชนชอบไปพักผ่อนชมธรรมชาติความรื่นรมย์อยู่เป็นประจำ จึงได้จัดให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของ ประชาชนในรูปแบบของวนอุทยานตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2509 อยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่
ในส่วนที่ได้จัดตั้งเป็นวนอุทยานออบหลวง ในอดีตเป็นสถานที่พักของพวกทำไม้บริษัทบอร์เนียว ซึ่งในสมัยนั้นการทำไม้สักใช้วิธีลำเลียงล่องมาตามลำน้ำแม่แจ่ม ไม้จะมาวนอยู่ที่ออบหลวงซึ่งเป็นวังน้ำวนและลึกมาก จากออบหลวงที่มีหน้าผาสูงชัน น้ำตกจากหน้าผาสูง บริษัททำไม้จึงตั้งปางพักตรงจุดนี้เพื่อคอยเก็บไม้ที่ไหลมา ไม่ให้ไหลลงไปวังน้ำวน ตามประวัติดั้งเดิมเล่าสืบต่อกันมาว่า ลำน้ำแม่แจ่มสมัยก่อนเรียกว่า “แม่น้ำสลักหิน” เนื่องจากแม่น้ำนี้ได้เจาะภูเขาหินลูกหนึ่งจนทะลุไหลผ่านเป็นลำน้ำตรงที่ เรียกว่า “ออบหลวง” ในปัจจุบัน ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นแม่น้ำแม่แจ่ม ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันอยู่ทุกวันนี้
ต่อมากรมป่าไม้ได้โอนวนอุทยานออบหลวง มาอยู่ในความดูแลของกองอุทยานแห่งชาติ และในต้นปี พ.ศ. 2531 นายธำมรงค์ ประกอบบุญ ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้ให้นโยบายและสั่งการให้วนอุทยานออบหลวงดำเนินการสำรวจเบื้องต้นพื้นที่ ข้างเคียงโดยรอบวนอุทยาน เพื่อยกฐานะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(อล)/พิเศษ ลงวันที่ 27 เมษายน 2531 และ ที่ กษ 0713(อล)/พิเศษ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2531 รายงานว่าป่าจอมทอง ป่าแม่แจ่ม-แม่ตื่น และป่าแม่แจ่ม ที่ทำการ สำรวจพื้นที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาตินี้แต่เดิมได้กำหนดให้เป็นป่าถาวรของ ชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2509
ต่อมาได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กล่าวคือ ป่าจอมทองเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 212 (พ.ศ. 2510) ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเล่ม 84 ตอนที่ 82 วันที่ 21 สิงหาคม 2510 ป่าแม่แจ่ม-แม่ตื่นเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 189 (พ.ศ. 2509) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 83 ตอนที่ 119 วันที่ 31 ธันวาคม 2509 ป่าแม่แจ่มเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 712 (พ.ศ. 2571) ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเล่ม 91 ตอน 225 วันที่ 29 ธันวาคม 2517 เนื้อที่ทำการสำรวจประมาณ 630 ตารางกิโลเมตร มีสภาพป่าสมบูรณ์ด้วยระบบนิเวศทุกประการมีจุดเด่นทางธรรมชาติสวยงาม และเป็นแหล่งทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง เหมาะสมสำหรับ การจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ทำการตรวจสอบและได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/1403 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2531 เสนอกรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 824/2531 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2531 ให้ นายไชโย ยิ่งเภตรา เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ไปทำการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมและได้ประกาศจัดตั้งพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็น อุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 108 ตอน 211 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2534 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 68 ของประเทศ
|
|
|
ลักษณะภูมิประเทศ |
|
ภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชัน สลับซับซ้อนติดต่อกันเป็นเทือกเขายาวในแนวเหนือ-ใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยต่อจากดอยอินทนนท์ มีแม่น้ำสายใหญ่ คือ ลำน้ำแม่แจ่มกั้นกลางอันเป็นเขตแบ่งระหว่างอำเภอจอมทองและอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้นหนึ่ง มีลำห้วยหลายสายไหลลงลำน้ำแม่แจ่มและลำน้ำแม่ปิงตอนล่าง ภูมิประเทศส่วนใหญ่มีที่ราบน้อยมาก เนื่องจากเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนและสูงชัน
จากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาหน้าผาสูงชัน และมีโขดหินขนาดใหญ่น้อยมากมาย หินที่เป็นองค์ประกอบของพื้นที่ได้แก่ หินแกรนิตและแกรโนไดออไรท์ สลับกับหินซอลท์และหินตระกูลแกรนิตชนิดมิคมาไทด์ ในชุดหินบลูโตนิคของยุคครีเตเซียส และไทรแอสสีค ประกอบด้วยแร่ควอร์ท และเฟสด์สปาร์ ในท้องน้ำแม่แจ่มมีเกาะแก่งหินขนาดใหญ่มากมาย ริมฝั่งลำน้ำจะมีหาดทรายเกิดจากน้ำพัดพามาเป็นช่วงๆ หลายแห่ง มีก้อนหินกลมประเภทกรวดห้องน้ำของหินควอร์ทไซด์ ควอร์ทแจสเปอร์ และหินชนิดอื่นๆ อยู่หนาแน่น
|
|
|
ลักษณะภูมิอากาศ |
|
สภาพ ภูมิอากาศในเขตอุทยานแห่งชาติแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนมกราคม มีอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 6 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน
|
|
|
|
|
|
|